ศัพท์ที่ควรรู้เกี่ยวกับกระบองเพชร
Aerole <เอรีโอล> = ตุ่มหนามเป็นบริเวณพิเศษของแคคตัส เป็นที่เกิดของหนาม กระจุกขนและเป็นที่เกิด ของดอก และหน่อ เช่นAreole ใน Astrophytum จะพบว่ามีเฉพาะกระจุกคนไม่มีหนาม
Bristle <บริสเทิล> = กระจุกขน มีลักษณะเป็นกลุ่มขน บพที่บริเวณตุ่มหนามและซอกระหว่างเนินหนาม พบ ได้บ่อยใน Mammillaria และ Coryphanta ทำหน้าที่ในการกรองและลดความร้อนจากแสง จึงพบมากที่บริเวณยอด
Central Spine <เซ็นทรัล สปายน์> = หนามกลาง เป็นหนามที่พบอยู่บริเวณส่วนกลางของตุ่มหนาม มักจะมีขนาดใหญ่และมีสีสันสวยงามกว่าหนามข้างมีรูปร่างต่างต่างกันไปตามชนิดของพันธุ์ เช่นFerocactus มีหนามกลางเป็นรูปตะขอ
Cephalium <เซฟาเลี่ยม> = เป็นส่วนพิเศษที่เกิดจากหนามและกรุจุกขนมาอยู่รวมกันอย่างหนาแน่นพบที่ บริเวณ ยอด เป็นที่เกิดของตาดอก จึงจะเกิดได้เมื่อแคคตัสนั้นโตเต็มที่แล้ว พบเฉพาะ แคคตัสตระกูล Melocactus และ Discocactus
Cristatus <คริสตาตัส> = เป็นความผิดปกติในการเจริญเติบโตบริเวณยอด ที่มีการเจริญเติบโตออกทางด้านข้าง ทำให้มีลักษณะคล้ายพัด มีสาเหตุมาจากการกลายพันธุ์ เช่น โป๊ยเซียน กำแพงเมืองจีน
Epiphyte <อิพิไฟท์> = เป็นการอาศัยแบบพึ่งพา พบในแคคตัสในป่าเขตร้อนชื้น เช่น แคคตัสตระกูล
Epiphytum (โบตั๋น) ต้องอาศัยรากเกาะพยุงไม้ใหญ่ขึ้นไปรับแสงบริเวณยอดไม้
Montrose <มอนโทรส> = เป็นความผิดปกติในการเจริญเติบโตเช่นเดียวกัน Cristatus แต่จะมีการแตกหน่อออกมาจากทุกตุ่มหนาม โดยที่รูปร่างของหน่อและต้นแม่มีความแตกต่างจากสายพันธุ์เดิม เช่น Astrophytum cv.Lotusland
Radial Spine <เรเดียด สปายน์> = หนามข้าง เป็นหนามที่เกิดบริเวณด้านข้างของตุ่มหนาม มักมีขนาดเล็กและอ่อนนิ่มกว่าหนามกลาง
Rib <ริบ> = เป็นลักษณะของลำต้นแคคตัสบางชนิด ที่มีลักษณะเป็นสันตามความสูงของลำต้น เช่น Echinocactus, Cereus, Melocactus, Gymnocalycium และ Astrophytum เป็นต้น
Tubercle <ทิวเบอร์เคิล> = เนินหนาม เป็นลักษณะลำต้นของแคคตัสบางชนิด มีรูปร่างเป็นทรงกรวยต่ำ ส่วน
ปลายทางด้านบนเป็นที่อยู่ของหนามพบในแคคตัสสกุล Coryphantha และ Mammmillaria
นำมาจากวารสารชมรมกระบองเพชรแห่งประเทศไทย เล่มที่่ 2